งานกลุ่ม บทที่ 2 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่งงานอาจารย์ ปิยนันท์ คุณากรสกุล => บทที่ 4

1. สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

                   สื่อกลางประเภทมีสาย
   เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
- สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair)
- สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair)
                  
UTP & STP
ข้อดี
ข้อเสีย
1. ราคาถูก
1. ความเร็วจำกัด
2. น้ำหนักเบา
2. ใช้งานในการเชื่อมต่อระยะทางใกล้ๆ
3. ง่ายต่อการใช้งาน


- สายโคแอคเชียล (Coaxial)

Coaxial Cable
ข้อดี
ข้อเสีย
1. เชื่อมต่อได้ในระยะไกล
1. ราคาแพง
2. ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
2. สายมีขนาดใหญ่

3. ติดตั้งยาก

                                - ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)

Optic Fiber Cable
ข้อดี
ข้อเสีย
1. ขนาดเล็กน้ำหนักเบา
1. เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
2. ความปลอดภัยในการส่งข้อมูล
2. ราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
3. ความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
3. การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

2. การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร
ข้อดีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1.        การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
2.        การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง
3.        สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) เป็นต้น
4.        ความประหยัดนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
5.        ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที

3. หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย (LAN Topology) แบบใดเพราะอะไร
รูปแบบการเชื่อมต่อแบบไฮบริด (Hybrid) 
                   รูปแบบการเชื่อมต่อแบบไฮบริด (Hybrid) เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกันเช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Starโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tree ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน
                   เพราะรูปแบบการเชื่อมต่อแบบไฮบริด (Hybrid) ได้นำเอาการเชื่อมต่อหลายๆ แบบมารวมกันซึ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน เครือข่ายนี้จะสามารถเชื่อมต่อเครือข่าย เล็ก-ใหญ่ได้หลากหลายแบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละพื้นที่การทำงานหรือพื้นที่การทำงานอาจมีการขยายเป็นพื้นที่ขนาดหลายร้อยกิโลก็สามารถทำได้

4. อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
*       ยกระดับมาตรฐานการศึกษาของนักเรียนนักศึกษาและสถานบันการศึกษาทั่วประเทศ
*       กระจายความเจริญและทรัพยากรทางด้านการศึกษาไปทุกพื้นที่ หรือจังหวัดที่ห่างไกล
*       เปิดโลกยุคโลกาภิวัฒน์ทางด้านการศึกษาของเยาวชนไทยให้กว้างขึ้น
*       แหล่งข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมาจากแหล่งข้อมูลจริงและทันต่อเหตุการณ์
*       สร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ที่ทุกพื้นที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
*       ได้รับความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารที่จะรับ-ส่ง ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
*       สนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษามีทักษะในด้านคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น
*       เพิ่มทางเลือกในการนำเสนอข้อมูลและเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา


วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่งงานอาจารย์ ปิยนันท์ คุณากรสกุล => บทที่ 3

1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
                แบ่งได้ 3วิธี ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
1.1 การลงรหัส
1.2 การตรวจสอบ
1.3 การจำแนก
1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
                2. ขั้นตอนการประมวลผล เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
2.1 การคำนวณ
2.2 การเรียงลาดับข้อมูล
2.3 การสรุป
2.4 การเปรียบเทียบ
                3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนาเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
 
2. จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
โครงสร้างข้อมูล
บิต (Bit)                หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
เลขฐาน 2 คือ 0, 1
ไบต์ (Byte)           การนำบิตมารวมกัน
เรียกว่า ตัวอักขระ, ตัวอักษร
ฟิลด์ (Field)         การนำไบต์หลาย ๆ ไปมารวมกัน
                                                เรียกว่า เขตข้อมูล
เรคอร์ด (Record)    การนำฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มารวมกัน
                                                    เรียกว่า ระเบียน
ไฟล์ (File)            การเรคอร์ดหลาย ๆ เรคอร์ดมารวมกัน
เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database)        การนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์มารวมกัน
เรียกว่า ฐานข้อมูล
 
ไบต์ (Byte) ได้แก่ ตัวอักษร เป็นการนำเอาบิตมารวมกัน โดย 8 bit = 1 Byte
 
ชื่อ
อักษรย่อ
จำนวนไบท์
กิโลไบท์ (kilobyte)
KB
1024 Bytes
เมกะไบท์ (Megabyte)
MB
1024 KB
กิกะไบท์ (Gigabyte)
GB
1024 MB
เทอราไบท์ (Terabyte)
TB
1024 GB
พีดาไบท์ (Petabyte)
PB
1024 TB
 
3. หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
@@ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) @@
----------แฟ้มข้อมูล-----------
                $ แฟ้มข้อมูล สินค้าที่ขาย $
$ แฟ้มข้อมูล สินค้าที่ขายได้ประจำวัน–เดือน-ปี $
$ แฟ้มข้อมูล ลูกค้า $
                $ แฟ้มข้อมูล พนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน $
                $ แฟ้มข้อมูล พนักงาน $
                $ แฟ้มข้อมูล ขั้นตอนการทำงาน $
                $ แฟ้มข้อมูล การเบิก–จ่ายอุปกรณ์การทำงาน $
---------ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล---------
% ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล %
% สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน %
% หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล %
% รักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล %
% กำหนดระบบรักษาความปลอดภัย %
% กำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ %
% เกิดความอิสระของข้อมูล %
4. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
                การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing)
                     *   รวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์
                     *   ทำการประมวลผลครั้งเดียว
                     *   จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
                การประมวลผลแบบเวลาจริง (Real Time Processing)
              *   การประมวลผลที่เมื่อทาการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันที
              *   แสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยแสดงผลทาง Output
              *   เช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่าง ๆ